บทความ

ชีวประวัติ ปฏิปทาหลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย

รูปภาพ
 ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่หลุย จันทสาโร       วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ เป็นวันครบรอบ ๑๒๔ ปี ชาตกาล หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย พระคุณเจ้า หลวงปู่หลุย จันทสาโร เป็นศิษย์สำคัญองค์หนึ่งของพระคุณเจ้า ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ผู้สมควรจะได้รับการถวายสมัญญา เป็นบูรพาจารย์ เป็นบิดาแห่งวงศ์พระกัมมัฏฐานในสมัยปัจจุบัน ศิษย์สำคัญที่เป็นพระเถระผู้ใหญ่ มีชื่อเสียงขจรขจายเป็นที่เคารพนับถือของมหาชนทั่วประเทศตามรอยบาทแห่งบูรพาจารย์ของท่าน ถือเป็นรุ่นใกล้เดียงกันกับหลวงปู่หลุย จันทสาโร ก็มีเช่น พระคุณเจ้า หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์) หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่ขาว อนาลโย และ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นอาทิ หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่อ่อน หลวงปู่ชอบ ต่างมีอายุอ่อนกว่าหลวงปู่หลุย โดยหลวงปู่เทสก์และหลวงปู่อ่อน เกิดในปีขาล พ.ศ. ๒๔๔๕ ในวันที่ ๒๖ เมษายน และ วันที่ ๓ มิถุนายน ตามลำดับ ส่วนหลวงปู่ชอบ เกิดปีฉลู พ.ศ. ๒๔๔๔ เช่นเดียวกับหลวงปู่หลุย แต่เกิดภายหลังท่าน ๑ วัน กล่าวคือ หลวงปู่หลุยเกิดวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์...

ชีวประวัติ ปฏิปทาหลวงปู่หนูบาล จันทปัญโญ วัดป่าสันติธรรม อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่หนูบาล จันทปัญโญ       วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๘ เป็นวันครบรอบ ๙๔ ปี ชาตกาล หลวงปู่หนูบาล จันทปัญโญ วัดป่าสันติธรรม อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ท่านเป็นชาวบ้านข่า จังหวัดนครพนม ท่านเป็นหลานของหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เป็นญาติลูกพี่ลูกน้องกับหลวงปู่สังข์ สงฺกิจฺโจ และหลวงปู่ไท ฐานุตฺตโม เเละท่านยังเป็นศิษย์ของ หลวงปู่จันทร์ เขมิโย อีกด้วย ท่านเป็นพระเถระผู้มีปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีปฏิปทา มักน้อย สันโดษ ตามปฏิปทาแห่งองค์หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ◎ ชีวิตปฐมวัย พระครูวิรุฬห์ธรรมโอภาส มีชื่อเดิมว่า หนูบาล แก้วชาลุน เกิดที่บ้านข่า ต.บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ในวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๔ ตรงกับ วันอังคาร แรม ๔ ค่ำ เดือน ๒ ปีมะแม โยมบิดาชื่อ เบี้ยว แก้วชาลุน โยมมารดาชื่อ กาสี แก้วชาลุน (เสียชีวิตทั้งหมดแล้ว) โยมมารดาของท่านนั้น แต่เดิมเคยแต่งงานมาก่อนกับพ่อจารย์แก้ว แก้วชาลุน และมีบุตร ธิดา ด้วยกันจำนวน ๖ คน ดังนี้ ๑.นายโง้ง แก้วชาลุน (เสียชีวิตแล้ว) ๒.นางดา คะปัญญา (เสียชีวิตแล้ว) ๓.นางยา คะปัญญา (เสียชีวิตแล้ว) ๔.นางกง แก้วชาลุน (ยังมีชีวิตอยู่) ๕.นายม้ง แก้วชาลุน (...